LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด



Fed คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25% -4.50% ตามตลาดคาดการณ์ ขณะที่ตลาดรอคอยความหวังจากการเจรจาการค้า
 
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ 4.25% - 4.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งเป็นระดับเดิมตั้งแต่เดือนธ.ค. ที่ Fed ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%
  • ตลาดจับตาอย่างใกล้ชิดต่อถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายเจอโรม พาวเวลล์ ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
  • ประเด็นแรก: Fed ส่งสัญญาณความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยระบุว่า “ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก” และย้ำว่า “คณะกรรมการฯ ให้ความสนใจกับ ‘เป้าหมายทางเงิน 2 ประการ (Dual Mandate)’ โดยประเมินว่า มีแนวโน้มเสี่ยงสูงขึ้นทั้งคู่
  • ประเด็นต่อมา: พาวเวลล์ปฏิเสธแนวทางการลดดอกเบี้ยเชิงป้องกันล่วงหน้าเพื่อลดผลกระทบจากนโยบายภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยให้เหตุผลว่า “เงินเฟ้อยังคงอยู่เหนือเป้าหมาย” และ “เฟดยังไม่สามารถตัดสินใจตอบสนองได้ จนกว่าจะเห็นข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น”
     โดยสรุป Fed กำลังรอความชัดเจนเรื่องภาษีที่จะส่งผลต่อตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญระยะข้างหน้า
 

การตอบสนอง และมุมมองของตลาด
  • ตลาดประเมินถ้อยแถลงของประธาน Fed ว่ามีแนวโน้ม ‘Hawkish’ หลังไม่ปรากฏสัญญาณสนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปเดือนมิ.ย. อีกทั้ง ยังไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงกรอบเวลาที่จะเริ่มลดดอกเบี้ย โดยตลาดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยลดลงเหลือ75 bsp หรือ 3 ครั้ง จากเดิมที่คาดไว้ 4ครั้ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ปรับตัวขึ้นเมื่อเปิดตลาด จากข่าวสหรัฐฯและจีนพร้อมเปิดเจรจาการค้าอย่างจริงจัง แต่กลับพลิกกลับมาลบหลังถ้อยแถลงของ Fed ระบุว่า “ความเสี่ยงจากอัตราว่างงานสูงและเงินเฟ้อสูงมีเพิ่มขึ้น” และ พาวเวลล์ กล่าวว่า ยังไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย และขอดูผลกระทบของนโยบายภาษีก่อน แต่ก็ได้พลิกกลับมาฟื้นอีกครั้งช่วงท้าย หลังมีรายงานว่าประธานาธิบดี ทรัมป์ อาจพิจารณายกเลิกข้อจำกัดบางประการด้าน AI ที่ถูกบังคับใช้ในยุครัฐบาลไบเดน ซึ่งนักลงทุนมองว่าอาจเป็นปัจจัยบวกต่อภาคเทคโนโลยี
  • ขณะเดียวกัน ตลาดจับตาความคืบหน้าของการเจรจาการค้าอย่างใกล้ชิด โดยมีความหวังจากการพบปะระหว่างเหอ หลี่เฟิง รองนายกรัฐมนตรีจีน ผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ กับ สก็อตต์ เบสเซนต์ และเจมีสัน เกรียร์ ตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังสร้างแรงจับตาเพิ่มเติม โดยโพสต์ผ่าน Social Media ว่าจะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับการเจรจาการค้ากับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ประเทศหนึ่ง ที่ห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ในเวลา 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งตลาดรอคอยเนื้อหาสาระสำคัญอย่างใกล้ชิด
แนวโน้มการลงทุนและกลยุทธ์การลงทุน 

เราประเมินว่า ตลาดน่าจะผ่านจุดท้าทายที่สุดเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการค้าไปแล้ว แต่ยังมีแนวโน้มเผชิญความผันผวนต่อเนื่องในระยะข้างหน้า โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ ความคืบหน้าในการเจรจามาตรการภาษี ซึ่งปัจจุบันตลาดได้สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกไว้บางส่วนแล้ว  อย่างไรก็ตาม หากการเจรจายืดเยื้อกว่าคาด อาจส่งผลต่อ Sentiment ตลาดในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ แม้สภาพแวดล้อมการลงทุนในปัจจุบันจะมีความซับซ้อนและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน แต่กลับกลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ “กลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง” กลับมาเป็นเครื่องมือสำคัญอีกครั้ง โดยเฉพาะในภาวะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์และภูมิภาคต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลง การจัดพอร์ตให้กระจายหลากหลายทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และประเภทสินทรัพย์จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการรับมือกับความผันผวนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในระยะนี้

กองทุนแนะนำ 

  • LHGEQ: กองทุนหุ้นโลกคุณภาพ เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง และมีประวัติการทำกำไรและมีงบดุลที่แข็งแกร่ง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
  • LHDIVB: กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ที่มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
  • LHGIGO: กองทุนตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลก เน้นความมั่นคง เหมาะสำหรับรับมือภาวะตลาดผันผวนในปัจจุบัน
  • LHSPACE: กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น Space Economy ซึ่งมีโอกาสเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต
  • LHCYBER: กองลงทุนในหุ้นกลุ่ม Cyber Security เพื่อเปิดรับโอกาสเติบโตระยะยาวจากเมกะเทรนด์ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโลกดิจิทัลในอนาคต
  • LHTWGHD: กองทุนลงทุนในหุ้นไต้หวัน มีกลยุทธ์ที่ผสานการลงทุนในหุ้นเติบโตกับหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง

ทั้งนี้ นักลงทุนควรติดตามพัฒนาการเชิงนโยบายอย่างใกล้ชิด และรักษาวินัยในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้แนวทางล็อกกำไร (Profit Locking) และป้องกันความเสี่ยง (Stop Loss) อย่างเคร่งครัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน
 

Source: Reuters, CNBC

LHFund 8 พ.ค.2025

 


ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

เนื่องจากกองทุน ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้




กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ