LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด




เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา



ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี (18-22 ก.ย.) MSCI World  S&P500 และ NASDAQ ได้ปรับตัวลดลงกว่า 2.42% 2.99% และ 3.63% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Shanghai composite ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.28% Hang Seng index ปรับตัวขึ้น 0.72%  ในส่วนของตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ยังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อย -0.32%) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตลาดได้เผชิญกับแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ที่ได้มีการขายหุ้นไทยเป็นจำนวนเงินกว่า 6,600 ล้านบาท และตลาดตราสารหนี้ไทยกว่า 3,000 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักลงทุนต่างชาตินั้น ได้มีความกังวลต่อการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ที่เผชิญกับทั้งปัจจัยลบทั้งในประเทศ (หนี้สาธารณะที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 5 แสนล้านบาท จากมาตรการ Digital Wallet) และปัจจัยจากต่างประเทศ (ค่าเงินหยวน และค่าเงินในเอเชียอ่อนค่า และค่าเงิน US Dollar แข็งค่า)ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้
 
  • ผลการประชุมของธ.กลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 20 ก.ย. โดยทาง Fed ได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการได้ทำการปรับมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ ณ สิ้นปี 2024 ขึ้นจาก 4.6% เป็น 5.1% (ซึ่งบ่งชี้ว่า Fed นั้นอาจจะลดดอกเบี้ยในปี 2024 เพียง 0.50% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะลดดอกเบี้ย 1.0% ในปีหน้า) โดยมีสาเหตุมาจากการที่เศรษฐกิจ และการบริโภคของสหรัฐฯ นั้นออกมาสูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ไว้ จึงทำให้ Fed นั้นยังคงต้องเฝ้าระวังอัตราเงินเฟ้อที่อาจจะกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าว นั้นได้ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (หรือดอกเบี้ยที่ไร้ความเสี่ยง) รุ่นอายุ 10 ปี นั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 0.14% ในสัปดาห์นี้ และขึ้นสู่ระดับ 4.50% ซึ่งเป็นระดับดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี และได้ทำให้หุ้นกลุ่ม Consumer Discretionary และกลุ่ม Growth stocks อย่าง Technology (ที่มีระดับ P/E สูง และมีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยรุ่นระยะยาว) ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก
  • แต่อย่างไรก็ตาม นาย Jerome Powell ประธาน Fed ได้มีการแถลงข่าวหลังจากผลการประชุม โดยได้มีการย้ำว่าทาง Fed จะยังคงรอดูตัวเลขเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และประเมินสถานการณ์เป็นครั้งต่อครั้ง โดย Fed นั้นเปิดกว้างและพร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินตามตัวเลขเศรษฐกิจที่เข้ามา โดยถึงแม้ว่าการบริโภคของชาวสหรัฐฯ นั้นยังคงสูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม ทาง Fed เองก็ได้เห็นสัญญาณของการชะลอตัวลงของค่าจ้าง และตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน และผลสำรวจเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะยาว ที่เริ่มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง     
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% ซึ่งถือว่าสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดเล็กน้อย (เนื่องจากตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25%) โดยทาง BOE ได้เริ่มแสดงความกังวลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือนที่ทางธ.กลางอังกฤษนั้น เริ่มมีมุมมองในเชิง Dovish ต่อภาพเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ทำการคงอัตราดอกเบี้ยที่ -0.10% โดยยังคงย้ำชัดว่าทางธ.กลางยังไม่มีแผนที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในเร็วๆนี้ โดยทาง BOJ นั้นยังคงไม่กังวลต่อภาวะเงินเฟ้อมากนัก (เนื่องจากส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก ที่ไม่ได้มาจากปัจจัยเรื่องค่าแรง และวงจรเงินเฟ้อภายในประเทศ) ซึ่งได้ทำให้ค่าเงินเยนได้อ่อนค่าราวๆ 1% ลงไปที่ระดับ USDJPY = 148.25 ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าที่มากที่สุดในรอบ 10 เดือน
  • ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจีน และฮ่องกง ได้ปรับตัวลดลงในวันที่ 18-21 ก.ย. จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะจากการประกาศล้มละลายของบริษัทอสังหาฯรายใหญ่อย่าง Sunac China Holdings แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงได้มีการฟื้นตัวกว่า 1.5-2.2% ในวันที่ 22 ก.ย. จากกระแสข่าวลือใน social media ว่ารัฐบาลจีนนั้น จะออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือตลาดหุ้น อาทิเช่น การห้ามการ Short Sell และ/หรือ มีการเพิ่มจำนวนเงินให้แก่กองทุนแห่งชาติที่จะเข้ามาใช้ในการพยุงตลาดหุ้น โดยนักลงทุนจะจับตามองการประกาศอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิดในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์นี้

 
  • 25-28 ก.ย. ไทย: Customs Exports YoY เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ -3.35% (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ -6.23%) , Customs Imports YoY เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ -10% (เทียบกับเดือนก.ค.ที่ -11.05%) 
  • 26 ก.ย. สหรัฐฯ: New Home Sales เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ -0.2% m/m (ต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ +4.4% m/m) , Consumer Confidence เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 105.9 จุด (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 106.1 จุด) 
  • 27 ก.ย. ยุโรป: M3 Money Supply เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ -1.0% y/y (ต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ -0.4% m/m)  
  • 28 ก.ย. ยุโรป: Consumer Confidence เดือนก.ย. โดยตัวเลขเดือนส.ค.ที่ -17.8 จุด
  • 29 ก.ย. ยุโรป: CPI YoY เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ +4.5% (ต่ำกว่าเดือนส.ค.ที่ 5.2%)  
  • 29 ก.ย. สหรัฐฯ: U. of Michigan Sentiment เดือนก.ย. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 67.7 จุด (เท่ากับเดือนส.ค.ที่ 67.7 จุด) , Personal Income เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ +0.5% m/m (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ +0.2% m/m) , Personal Spending เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ +0.4% m/m (ต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ +0.8% m/m) 

 
  • หลังจากที่ตลาดมีความชัดเจนต่อทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง เป็นระยะเวลานาน แต่ Fed ก็ยังคงเปิดกว้างและพร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายตามตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคต โดยตลาดจะจับตามองอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตร และราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับ ความยืดเยื้อของการหยุดงานของสหภาพแรงงงานในกลุ่มยานยนต์ และความเสี่ยงของ Government Shutdown ในสิ้นเดือนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัวลง นั้นจะสามารถทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้ และตลาดจะมองไปยังหน้าผลประกอบการไตรมาส 3 ในเดือนต.ค.
  • หลังจากที่ตลาดหุ้นจีน ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในวันศุกร์ที่ 22 ก.ย. จากข่าวลือที่รัฐบาลจีน นั้นเตรียมที่จะออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือตลาดหุ้น โดยตลาดจะรอความชัดเจนของข่าวลือดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน จะยังคงเผชิญกับความท้าทายของการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ที่ยังคงต้องใช้หลายมาตรการจากทางภาครัฐ ในการฟื้นความเชื่อมั่น
  • นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังคงจับตามองแนวโน้มของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยตลาดต้องการความชัดเจนของแหล่งเงินทุน ในการออกมาตรการ Digital Wallet (เม็ดเงิน 5 แสนล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามาตรการดังกล่าว สามารถออกมาได้ด้วยดีนั้น จะส่งผลดีโดยตรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตามองแนวโน้มของผลประกอบการของบริษัทไทยในไตรมาส 3 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงไม่ได้มีการฟื้นตัวมากนักในไตรมาส 3
กองทุนแนะนำ 
 
  • LHGEQ : กระจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เน้นลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดี มีหนี้สินต่ำ เป็นผู้นำในตลาด มีกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะถัดไปคาดว่าตลาดหุ้นยังเป็น sideway up จากดอกเบี้ยทั่วโลกที่ใกล้ระดับสูงสุดแล้ว
  • LHHEALTH : เหมาะกับตลาดทั้งขาลงและขาขึ้น มีสัดส่วนประมาณ 50% ใน pharmaceutical, healthcare services ที่ค่อนข้าง defensive สิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ อายุที่เพิ่มขึ้น หรือ รายได้เพิ่มขึ้น และอีก 50% ในกลุ่ม healthcare เช่น biotech , life sciences, healthcare equipment ที่มี growth สูง ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing.com, Bloomberg, ThaiPBS
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ