LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด




ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกในสัปดาห์นี้



ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 และ NASDAQ (11-14 ก.ย.) ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.06% และ 1.03% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Shanghai composite (11-15 ก.ย.) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.03% แต่ Hang Seng index ปรับตัวลดลง 0.11%  ส่วน SET Index ปรับตัวลดลง 5.14 จุด หรือ -0.33% ไปที่ระดับ 1,542.03 จุด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้ 
  • ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯเดือนส.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% m/m และ 3.7% y/y (เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ที่ 0.6% m/m และ 3.6% y/y) ซึ่งสูงกว่าเดือนก.ค. ที่ 0.2% m/m และ 3.2% y/y แต่อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นส่วนใหญ่นั้นมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 10% m/m โดยตัวเลข Core CPI (ที่ไม่นับราคาพลังงานและอาหาร) นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% m/m และ 4.3% y/y ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก.ค. ที่ 4.7% y/y นักลงทุนจะยังคงจับตามองสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด โดยเศรษฐกิจโลกจะได้ผลกระทบเชิงลบถ้าหากราคาน้ำมันนั้น กลับไปขึ้นสูงกว่าระดับ $100 ต่อบาร์เรลอีกครั้ง           
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ทำการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 4.5% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยธ.กลางได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในปี 2023 ขึ้น 0.2% เป็น 5.6% และ 2024 ขึ้น 0.2% เป็น 3.2% โดยเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงไปที่เป้าหมาย 2% ภายในปี 2025 นอกจากนี้ ธ.กลางยังได้ปรับตัวเลขคาดการณ์  Real GDP Growth ของปี 2023 ลง 0.2% เป็น 0.7%, 2024 ลง 0.5% เป็น 1% และ 2025 ลง 0.1% เป็น 1.5% ซึ่งบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะยังคงเผชิญกับภาวะ “Stagflation” หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง)
  • ประเทศจีน โดยตัวเลข Aggregate Financing (สินเชื่อในภาพรวม) เดือนส.ค. นั้นอยู่ที่ 3.12 ล้านล้านหยวน (มากกว่าตลาดคาดที่ 2.69 ล้านล้าน และเดือนก.ค. ที่ 5.28 แสนล้านหยวน) ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข New Yuan Loan ที่ 1.36 ล้านล้านหยวน (มากกว่าตลาดคาดที่ 1.25 ล้านล้าน และเดือนก.ค.ที่ 3.45 แสนล้านหยวน) ซึ่งบ่งชี้ถึงการที่รัฐบาลนั้น ได้มีการเร่งให้ธนาคารซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาฯ และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวเลข Industrial Production (การผลิตภาคอุตสาหกรรม) เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 4.5% y/y (มากกว่าตลาดคาดที่ 3.9% และเดือนก.ค.ที่ 3.7%) และตัวเลข Retail Sales (ค้าปลีก) เดือนส.ค. ที่เพิ่มขึ้น 4.6% y/y (มากกว่าตลาดคาดที่ 3% และเดือนก.ค.ที่ 2.5%) นั้นบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวในเดือนส.ค. แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นจีน นั้นไม่ได้ตอบรับในเชิงบวกมากนัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนั้น อาจจะส่งผลทำให้รัฐบาลจีนนั้นตัดสินใจที่จะไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก
  • Apple ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง iPhone 15 และ Apple Watch 9 โดยไม่ได้มีการขึ้นราคาสินค้าจาก iPhone 14 ซึ่งก็มีทั้งเสียงตอบรับจากนักลงทุน ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดนั้นจะจับตามองตัวเลขยอดขาย iPhone ในประเทศจีนอย่างใกล้ชิด หลังจากที่มีข่าวว่ารัฐบาลจีนนั้น ได้มีการสั่งห้ามให้ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Apple
  • หุ้นของบริษัท Tesla ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 11% ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา (11-14 ก.ย.) หลังจากที่นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley ได้ทำการปรับราคาเป้าหมายจาก $250 เป็น $400 จากการประเมินมูลค่าของ AI Technology ที่จะสามารถต่อยอดไปยังหลายธุรกิจได้อีกมากในอนาคต โดยมองว่า Tesla นั้นจะกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยี มากกว่าที่จะเป็นบริษัทรถยนต์ในอนาคต       
  • ในส่วนของตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ได้ปรับตัวลดลง 5.14 จุด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นำโดยการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่มค้าปลีก และหุ้นขนาดกลาง ทั้งจากความกังวลต่อยอดขายของ iPhone 15 และการที่นักลงทุนได้ขายหุ้นขนาดกลาง เพื่อไปซื้อหุ้นที่พึ่งเข้า IPO อย่าง Cococo ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมะพร้าวรายใหญ่ ที่มีอัตรากำไรสูง

 
  • 12 ก.ย. ยุโรป: ZEW Survey Expectations เดือนก.ย. โดยตัวเลขของเดือนส.ค.อยู่ที่ -5.5 จุด
  • 13 ก.ย. สหรัฐฯ: ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 3.6% y/y (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ 3.20%)  
  • 14 ก.ย. สหรัฐฯ: Retail Sales เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ +0.1% y/y (ต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ 0.7%)  ยุโรป: การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยตลาดคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเงินฝากที่ 3.75% และดอกเบี้ยนโยบาย Refinance ที่ 4.25%  
  • 15 ก.ย. จีน: Industrial Production เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ +3.9% y/y (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ 3.7%): Retail Sales เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ +3.0% y/y (สูงกว่าเดือนก.ค.ที่ 2.5%)
  • นักลงทุนจับตามองผลของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในคืนวันที่ 20 ก.ย. อย่างใกล้ชิด โดยตลาดจะดูแนวโน้มทิศทางของ Fed ว่าจะเริ่มส่งสัญญาณถึงการหยุดวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ และมีแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยในปี 2024 อย่างไร เช่นเดียวกับ สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ที่ราคายังมีความเสี่ยงที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นไปที่ระดับ $100 ต่อบาร์เรล จากภาวะ Supply Shortage จากการลดปริมาณการผลิตจากกลุ่ม OPEC+ นอกจากนี้ ตลาดจะจับตามองสถานการณ์การหยุดงาน (Strike) ของกลุ่ม UAW (สหภาพแรงงานยานยนต์สหรัฐฯ) ว่าจะส่งผลต่ออุตสาหกรรม และราคายานยนต์อย่างไรบ้าง
  • ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจีน นั้นจะออกมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอสังหาฯ และภาคธนาคาร และตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนส.ค.ที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตามองท่าทีของรัฐบาลจีนอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีการส่งสัญญาณถึงมาตรการช่วยเหลือ หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่
  • ตลาดหุ้นไทย นั้นมีความชัดเจนที่มากขึ้นต่อมาตรการ Digital Wallet เงิน 1 หมื่นบาท ที่จะส่งผลดีโดยตรงต่อกลุ่มค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตามองแนวโน้มของผลประกอบการของบริษัทไทยในไตรมาส 3 ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงไม่ได้มีการฟื้นตัวมากนักในไตรมาส 3
ที่มา LHFUND, CNBC, Investing.com, Bloomberg, ThaiPBS
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ