LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด





เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา



ในสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 และ NASDAQ (18-25 ส.ค.) นั้น +0.8% และ 2.27% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Shanghai composite และ Hang Seng index (18-25 ส.ค.) นั้น -2.13% และ +0.06% ตามลำดับ  SET Index +2.88%
ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้
  • ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นยังคงมีความผันผวน โดยผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปี (ซึ่งเป็นดอกเบี้ย benchmark ที่ไร้ความเสี่ยงของตลาดการเงินโลก) นั้นยังคงผันผวนอยู่ในระดับสูงที่ 4.23% โดยล่าสุดตัวเลขยอดขายบ้านใหม่นั้นเพิ่มขึ้น 4.4% m/m (ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ +0.9%) ซึ่งบ่งชี้ถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านในตลาดสหรัฐฯ นั้นได้ขึ้นสู่ระดับ 7.5% ต่อปีก็ตาม
  • ประชุมประจำปีของธนาคารกลางทั่วโลก ที่ Jackson Holes ประธานธนาคารกลางสหรัฐเจอโรมพาวเวลล์กล่าวความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐอาจต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม พาวเวลล์ตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจเติบโตเร็วกว่าที่คาดไว้และผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นแนวโน้มที่อาจทําให้แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง เราพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปตามความเหมาะสม และตั้งใจที่จะคงนโยบายไว้ที่ระดับที่จํากัดจนกว่าเราจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวลงสู่เป้าหมายของเราที่ 2%" ส่งผลให้ตลาดหุ้นและตราสารหนี้ผันผวนต่อ
  • กลุ่ม Technology และกลุ่ม Consumer Discretionary นั้นยังคงเผชิญต่อความผันผวนต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีปัจจัยลบ มาจากความกังวลของตลาดต่ออัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก
  • ผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัท Nvidia (ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปอิเลคทรอนิค ที่มีมูลค่า market cap ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกว่า $1.1 ล้านล้าน) นั้นมีรายได้ และผลกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 101% y/y และ 850% y/y ตามลำดับ (ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์กว่า 30%) โดยรายได้จากธุรกิจ Data Center, Cloud Services Provider และชิป AI GH200 (ที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดในตลาด และครองส่วนแบ่งตลาดถึง 90%) นั้นเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีบริษัทใหญ่ชั้นนำของโลก เข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ของ Nvidia เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น Google, Meta, Microsoft และ Softbank ซึ่งผลประกอบการดังกล่าว นั้นได้ทำให้ตลาดนั้นมีมุมมองเชิงบวก ต่อทั้ง supply chain ของอุตสาหกรรม AI และ Data Center เพิ่มมากขึ้น  
  • ตลาดยังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีนเป็นอย่างมาก โดยถึงแม้ว่าสถานการณ์นั้น อาจจะยังไม่ถึงขั้นที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบต้มยำกุ้ง (ปี 1997) และ Sub-prime (ปี 2008) เนื่องจากประเทศจีน นั้นยังคงมีความมั่นคงของระบบธนาคาร และคลังสำรองระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาฯ และภาคการก่อสร้างจีน นั้นยังคงเป็นปัญหาในระยะยาว เช่นเดียวกับ ตัวเลขการส่งออกที่ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก และความเชื่อมั่นของการบริโภคในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ นั้นยังคงทำให้วัฏจักรของเศรษฐกิจจีน นั้นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้ตัวเลข GDP ของจีนในปีนี้ มีโอกาสที่จะโตในระดับที่ต่ำ
  • ราคาน้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ราวๆ 1% w/w จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีน และตัวเลข Flash Manufacturing และ Services PMI เดือนส.ค.ของยุโรป ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด
  • สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทย โดยดัชนี SET Index ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2.7% หลังจากที่นาย เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย ได้รับผ่านการลงคะแนนอนุมัติเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ของประเทศไทย และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยตลาดได้มีความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ที่อาจมีมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท ที่จะกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และน่าจะแก้ปัญหาภาวะหนี้เสียในประเทศได้เป็นอย่างมาก
 
 
  • 28-ส.ค. ยุโรป: M3 Money Supply เดือนก.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 0.0% y/y ซึ่งต่ำกว่าเดือนมิ.ย.ที่ 0.6%  
  • 28-ส.ค. ยุโรป: CPI เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 5.1% y/y และ 0.4% m/m  (เดือนก.ค.ที่ 5.3% y/y และ -0.1% m/m)  
  • 28-ส.ค. ยุโรป: Eurozone Manufacturing PMI เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 43.7 จุด เท่ากับเดือนก.ค.
  • 29-ส.ค. สหรัฐฯ: Consumer Confidence เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 116.6 จุด ซึ่งต่ำกว่าเดือนก.ค.เล็กน้อยที่ 117 จุด  
    31-ส.ค. จีน: Manufacturing PMI เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 49.1 จุด (ต่ำกว่าเดือนก.ค. ที่ 49.3 จุด)
  • 31-ส.ค. จีน: Non-manufacturing PMI เดือนส.ค. (ภาคบริการ) โดยตลาดคาดการณ์ที่ 51.0 จุด (ต่ำกว่าเดือนก.ค. ที่ 51.5 จุด)
  • 1-ก.ย. สหรัฐฯ: ตัวเลขการจ้างงาน Non-farm Payrolls เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 168,000 ตำแหน่ง ซึ่งต่ำกว่าเดือนก.ค.ที่ 187,000 ตำแหน่ง  
  •  1-ก.ย. สหรัฐฯ: Unemployment Rate เดือนส.ค. โดยตลาดคาดการณ์ที่ 3.5% เท่ากับเดือนก.ค.  
 
 
  • ในภาพรวม ทาง LHFund ยังคงมีมุมมองเชิงบวก โดยยังคงมองว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลา 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ จะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการชะลอตัวของภาคสินค้า และภาคบริการที่ชะลอตัวลงทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลทำให้สุดท้ายแล้ว อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะต้องปรับตัวลดลงในอนาคต และส่งผลดีต่อตลาดการเงินในภาพรวม (โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ยังคงมี Technology ใหม่ๆ และผลกำไรที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่น)
  • ตลาดหุ้นจีน นั้นยังคงถูกปัจจัยหลายอย่างกดดัน โดยเฉพาะความเสี่ยงของเศรษฐกิจในระยะกลาง ถึงยาว โดยเฉพาะถ้ารัฐบาลจีน ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย มากระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะดัชนี Hang Seng นั้นเทรดอยู่ในระดับที่ Oversold เป็นอย่างมาก และมีโอกาสที่จะมีการ rebound ในระยะสั้นได้
  • ตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน และพรรคเพื่อไทย สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยตลาด (โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก, กลุ่ม finance และการบริโภคในประเทศ) จะรอดูมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่
  • กองทุนแนะนำ : เริ่มเห็นมีการ rotate จากกลุ่ม high growth เข้ากลุ่ม defensive value, cyclical เช่น น้ำมัน healthcare โดยแนะนำกอง LHDIVB LH Dividend and Buyback Fund มีน้ำหนักลงทุนในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง เช่น ในหุ้นกลุ่ม น้ำมัน healthcare industrial และ การเงิน 
  • LHSEMICON สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ แนะนำทยอยลงทุน ในช่วงที่มีการปรับตัวลง แต่ระยะยาวได้ประโยชน์จาก AI, automation, cloud computing, 5G, technology ที่ advanced

ที่มา LHFUND, CNBC, Investing.com, Bloomberg, ThaiPBS
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ