LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด



Business Insights วันนี้พบกับ
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT  

 

กิจการ การบินของประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อปี 2454 โดยระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2454 นักบินชาวเบลเยี่ยมชื่อ ฟัน เดน บอร์น (Van den Born) ได้นำเครื่องบินออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) มาบินแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สนามม้าราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน

หลังจากนั้น ประเทศไทยก็ได้มีพัฒนาการด้านการบิน เช่น การส่งนายทหารไปศึกษาด้านการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ในปี 2454 การสั่งเครื่องบินชุดแรกของประเทศไทย ในปี 2456 ทั้งนี้ กิจการด้านการบินในระยะแรกอยู่ในความรับผิดชอบของกรมจเรการช่างทหารบก โดยใช้สนามม้าราชกรีฑาสโมสร เป็นส่วนหนึ่งของสนามบิน และเรียกชื่อว่า สนามบินสระปทุม อย่างไรก็ตามเนื่องจากในระยะต่อมา สนามบินสระปทุมคับแคบ มีที่ตั้งไม่เหมาะสม จึงมีการเลือกพื้นที่สนามบินใหม่ ซึ่งในที่สุดได้เลือกพื้นที่ "ดอนเมือง” และจึงเป็นสนามบินดอนเมือง โดยมีเครื่องบินลงปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2457 ซึ่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2457 ได้มีการตั้งกรมการบินทหารบกมาดูแล ซึ่งรากฐานมั่นคงของกิจการการบินของไทย ได้เริ่มต้น ณ ที่นี่

ทอท.เริ่มดำเนินกิจการ

ในปี พ.ศ.2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกองการบินพลเรือนขึ้นเพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการบิน ระหว่างประเทศ และอีก 8 ปีต่อมาก็ได้ยกฐานะจากกองเป็นกรม และได้ปรับปรุงสนามบินดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสากลเรียกว่า "ท่าอากาศยานดอนเมือง” ก่อนเปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า " ท่าอากาศยานกรุงเทพ ” เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2498 ต่อมา รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 โดยกำหนดให้จัดตั้งการท่าอากาศยานขึ้นเรียกว่า การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ ทอท. และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Airports Authority of Thailand ย่อว่า AATโดยมีพนักงาน ทอท.ได้เข้าปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2522 จึงได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนา ทอท.

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการท่าอากาศยานกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2522 ทอท.ได้ปรับเปลี่ยนแนวการบริหารงานเป็นเชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น การบริหารงานท่าอากาศยานกรุงเทพมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างมาก จนทำให้ ทอท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีฐานะที่มั่นคง และมีศักยภาพที่จะพัฒนาท่าอากาศยานของไทยให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีก ซึ่งต่อมา ทอท.ได้รับโอนท่าอากาศยานสากลในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งจากกรมการบินพาณิชย์มาดำเนินการตามลำดับ ได้แก่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (รับโอนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2531) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (รับโอน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2531) ท่าอากาศยานภูเก็ต (รับโอนเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2531) และท่าอากาศยานเชียงราย (รับโอนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2541 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ท่าอากาศยานเชียงราย ใช้ชื่อใหม่ว่า "ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย” เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2553) และเข้าบริหารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2546 โดย ทอท.ได้ปรับปรุงอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของท่าอากาศยานเหล่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทุก ๆ ด้าน และได้จัดทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ก้าวสู่การเป็นบริษัทมหาชน

กิจการของ ทอท.เจริญรุดหน้าจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ การแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2545 โดยใช้ชื่อ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และยังคงเรียกชื่อย่อว่า ทอท.เช่นเดิม ส่วนภาษาอังกฤษให้ใช้ว่า Airports of Thailand Public Company Limited เรียกโดยย่อว่า AOT

และสำหรับปัจจุบันหลังจากเกิดเหตุการณ์ระบาดของ COVID-19 นั้น ในปี 2023 นี้ ต่างชาติเริ่มกลับมาระดับ 68% ของช่วงก่อนโควิดแล้วในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนก่อนสงกรานต์ และปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆต่อเนื่องทุกเดือน (Mar 64%, Feb 60%, Jan 57%)
 

โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ที่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ (ปัจจุบัน 15% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีโควิด) ซึ่งบ่งบอกว่ายังสามารถฟื้นตัวได้อีกมาก ทั้งนี้ปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบินมีแนวโน้มฟื้นต่อเนื่องหลังจีนเปิดประเทศเมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.23






นอกจากรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับค่าบริการสนามบินที่จะดีขึ้นแล้วจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การยกเลิกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการณ์ในสนามบินในภาคส่วนต่างๆจะทำให้รายได้โดยรวมของ AOT ดีขึ้นด้วย (สิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสนามบินตั้งแต่สิ้นเดือน มี.ค.23 (ลดค่าเช่า ค่าบริการ -50%) อีกทั้งยัง AOT จะเริ่มได้รับรายได้ที่เกี่ยวข้องกับ duty free อีกด้วย 





ปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการจำนวน 39 ท่าอากาศยาน



ในส่วนของโอกาสในการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพและมีโอกาสในการเติบโตอย่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บลจ. แลยด์ แอนด์ เฮ้าส์ เองก็ไม่พลาดที่จะมีกองทุนหุ้นไทย อย่างกองทุน LHGROWTH โดยกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง หรือ (Growth Stock) ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAVหรือ กองทุน LHSTRATEGY ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีค่าความผันผวนน้อยกว่าตลาด และ/หรือ หุ้นที่เป็น Low Beta เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในหุ้นดังกล่าวจะส่งผลให้มี net exposure ในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV


ที่มา : airportthai, LHFund

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน





 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ