LAND AND HOUSES FUND MANAGEMENT CO.,LTD

ข่าวสารและกิจกรรม

สรุปภาวะตลาด




"มุมมอง SVB กับความเสี่ยงในภาคธนาคาร และคำแนะนำใน LHUSFIN"



การปรับตัวลงของหุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐ IYG US ETF -15% ช่วงวันที่ 6-13 มี.ค 2023  หลังธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารที่มีฐานเงินฝากใหญ่ที่สุดใน Silicon Valley และเป็นแหล่งเงินทุนหลักของ Startups และ Venture capital ประกาศขายขาดทุน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ถืออยู่ และเตรียมขายหุ้นมูลค่าราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อกลบขาดทุนดังกล่าว แก้ปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง จากการถอนเงินของลูกค้า และในวันที่ 10 มี.ค. Silicon Valley Bank ได้ถูกสั่งปิดและโอนกิจการให้ทางรัฐบาล Federal Deposit Insurance Corp.  สรุปปัญหาของ Sillicon Valley Bank เกี่ยวเนื่องมาจาก

1) SVB ประสบกับปัญหาทางการเงิน เนื่องจาก 57% ของสินทรัพย์นั้น มีการลงทุนในตราสารต่างๆ โดยเฉพาะในตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งมูลค่าของสินทรัพย์นั้นได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น (ต่างจากตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อย) การขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ Bond yield ในตลาดสูงขึ้น ซึ่งทำให้นักลงทุนถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากไปลงทุนในตลาดพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า



 2) การชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมในกลุ่ม Tech และ venture capital (VC) ด้วยลักษณะธุรกิจที่เน้นลูกค้าธุรกิจ Tech และ VC ทำให้การปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นรายได้หลักของธนาคาร ลดลง นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเป็นต้นทุนของธนาคารก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาด เพื่อคงฐานลูกค้าเงินฝาก ทำให้กำไรของธนาคารลดลง (ส่วนต่างดอกเบี้ยลดลง) และยังเกิดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง ต้องขายสินทรัพย์มาชดเชย

ส่งผลให้หุ้น SVB Financial Group (SIVB) หุ้นแม่ของ Silicon Valley Bank ปรับลงกว่า 60% และกระทบราคาหุ้นของธนาคารอื่นลง โดยเฉพาะขนาดกลาง-เล็ก ที่ดึงดูดผู้ฝากเงินด้วยดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาดนั้น จากความกังวลนักลงทุนกังวลว่าจะเกิด Bank Run กระทบถึงธนาคารการเงินอื่นๆ อย่างไรก็ตามธนาคาร SVB นี้ไม่ใช่ธนาคารขนาดใหญ่ มีสินทรัพย์ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือแค่ 0.91% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของกลุ่มธนาคารสหรัฐ

ทาง LH Fund มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจกระทบกับ Net Interest Rate Margin และผลประกอบการของธนาคารท้องถิ่นขนาดกลาง เล็ก ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากในระดับสูงเพื่อป้องกันการถอนเงินออก และธนาคารที่มีสินทรัพย์ในตราสารหนี้ระยะยาว และปล่อยกู้กับบริษัทธุรกิจขนาดเล็กที่มีต้นทุนที่สูง ซึ่งอาจกระทบกับราคาหุ้นของธนาคารดังกล่าว อย่างไรก็ตามคาดว่า จะไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงของระบบการเงินในภาพรวม กลุ่มธนาคารส่วนใหญ่มีสัดส่วนเงินสำรองที่สูงมากจากกฏระเบียบ Basel 3 ที่ออกมากำกับการดำรงสินทรัพย์ของธนาคารตั้งแต่ยุควิกฤติปี 2008 นอกจากนั้น ธนาคารขนาดใหญ่ อย่าง JP Morgan, Bank of America, Citigroup และ Wells Fargo ก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เนื่องจากทั้งสี่ธนาคารนั้น ได้รับรู้ผลขาดทุนจาก มูลค่าตราสารหนี้ที่ลดลงไปแล้วในงบการเงินปี 2022 รวมทั้งสภาพคล่องของทั้งระบบยังมีเพียงพอ โดยปัจจุบัน Bank Reserves ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในสหรัฐฯ อยู่ที่ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเมื่อรวมกับสภาพคล่องที่อยู่ใน Money Market Funds (Fed RRP facility) ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้สภาพคล่องโดยรวมยังมีมากถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  นาย Christopher Waller คณะกรรมการ Fed ได้ประเมินไว้ว่า Minimum Bank Reserves ที่ภาคธนาคารต้องการนั้นอยู่ที่ 10% ของ GDP หรือราว 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ซึ่งหมายความว่าระดับสภาพคล่องในปัจจุบันนั้นยังมากเพียงพอ


ภาพที่ 1 Common Equity Tier 1 (CET1) Capital Ratio Assuming Both HTM (Hold to Maturity) and AFS (Available for Sale) Securities are Marked-to-Market เฉลี่ยธนาคาร Common Equity Tier 1 Ratio หลังจากหลักทรัพย์ที่กระทบกับ Hold to Maturity และ Available For Sale ยังถือว่าสูงกว่า SVB มาก


G-SIBs Global Systematically Important Bank
Source : Goldman Sachs 12/3/2023


โดยทาง FDIC หน่วยงานค้ำประกันเงินฝาก (Federal Deposit Insurance Corporation)  มีประสบการณ์ในการรับมือกับวิกฤตในภาคธนาคาร โดยยังคงมีเงินทุนประกันที่เพียงพอสำหรับผู้ฝากเงิน นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา ธนาคารส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ นั้นไม่ได้มีการทำธุรกรรมกับอุตสาหกรรม crypto เพราะฉะนั้น ธนาคารอื่นๆ นั้นไม่น่าที่จะเผชิญกับความเสี่ยงดังกล่าว เหมือน SIVB ได้มีการปล่อยกู้ให้กับหลายบริษัทในอุตสาหกรรม cryptocurrency เป็นอย่างมาก และ ปัญหาตอนนี้ดูจะจำกัด ในกลุ่มธนาคารที่มีฐานลูกค้ากลุ่ม Tech ซึ่งหากพิจารณาจากธนาคารที่มีฐานใน California ซึ่งมีบริษัท Tech อยู่เป็นจำนวนมาก พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นเพียง 5% ของมูลค่าสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ที่ 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ความเสี่ยงที่จะลุกลามค่อนข้างจำกัด เหตุการณ์นี้จึงมองว่าส่งผลกระทบต่อ Sentiment ของนักลงทุนมากกว่าจะเป็น Systematic Risk
 
ล่าสุด ทางรัฐบาลสหรัฐ FDIC Federal Deposit Insurance Corporation ได้ประกาศ Bail out เข้าช่วยเหลือผู้ฝากเงินของ Silicon Valley Bank และ Signature Bank ( วันที่ 13 มี.ค. หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ ประกาศปิดตัว Signature Bank  เพื่อป้องกันวิกฤตการธนาคารที่ลุกลาม เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมากในธุรกิจเงินคริปโทเคอร์เรนซี รองจาก Silvergate, Signature Bank มีสินทรัพย์ 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือแค่ 0.5% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของกลุ่มธนาคารสหรัฐ ) และจะไม่กระทบกับผู้เสียภาษี โดยถ้าผู้ฝากเงินของ Silicon Valley  , Signature Bank นั้นได้รับเงินคืนทั้งหมด เชื่อว่าระบบการเงินจะมีความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินกลับมา และป้องกันการถอนเงินในวงกว้าง (bank run) และ HSBC Bank ได้มีการเข้าซื้อ Silicon Valley Bank ใน UK
 

ทางธนาคารกลางสหรัฐออกมาตราการคุ้มครองระบบการเงิน โดยซึ่งอนุญาตให้ธนาคารสามารถ จํานําหลักทรัพย์เช่น US Treasuries, Mortgage Backed Securities ที่ Par value เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องและลดการขายหลักทรัพย์คุณภาพสูงที่ราคาขาดทุน  ธนาคารกลางสหรัฐยังงระบุด้วยว่าว่าพร้อมที่จะช่วยเหลือรับมือกับแรงกดดันด้านสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้น


อนึ่ง IYG US ETF ไม่ได้มีการลงทุนใน SVB โดยตรง แต่มีสัดส่วนการลงทุนใน SVB Financial Group (SIVB) บริษัทแม่ของ Silicon Valley Bank อยู่ 0.44% และ Signature Bank (SBNY) 0.19% ณ วันที่ 8 มี.ค. 2023 และคาดว่าเมื่อรวมกับธนาคารขนาดเล็กที่มีข่าวเกี่ยวกับ start up, cryptocurrencies และความเสี่ยงเรื่องสภาพล่อง โดยรวมประมาณ 1.5% ของกอง

อย่างไรก็ตามสัญญาณในทางบวกคือนักลงทุนเริ่มมองว่าธนาคารกลางสหรัฐมีโอกาสน้อยลงที่จะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% โดย 95% ของตลาดมอง ธนาคารกลางสหรัฐมีโอกาสขึ้นเพียง 0.25% (ภาพที่ 2)  โดยตลาดการเงินได้สะท้อนภาพในการลดลงพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 10 ปี ระดับ Valuation US Financial ถูกว่าระดับเฉลี่ย 4 ปี 

ภาพที่ 2 CME : implied futures Fed Funds rate 95% มอง ตลาดขึ้น 0.25% 



Source : CME, 13/3/2023
 
  • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 2 ปี ปรับตัวลง จาก 5.1% เป็น 4.59% หลังจากข่าว SVB เนื่องจากมองว่า FED จะช่วยลดความเสี่ยงระบบการเงิน   
  • อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ปรับตัวลง จาก 4% เป็น 3.7% หลังจากข่าว SVB เนื่องจากมองว่า FED จะช่วยลดความเสี่ยงระบบการเงิน   
  • Est P/E US Financial ปัจจุบันอยู่ที่ 11.86 เท่า ซึ่งถูกกว่าเฉลี่ย 4 ปี ที่ 12.6 เท่า

คำแนะนำการลงทุนกอง LHUSFIN
เนื่องจากราคาได้ปรับตัวลง กว่า 15% ช่วงวันที่ 6-13 มี.ค 2023  สะท้อนความกังวลเรื่อง Bank Run และ รัฐบาลได้มีการเข้ามาช่วยเหลือให้ sentiment การลงทุนดีขึ้น และ ธนาคารขนาดใหญ่หลายๆแห่ง มี Balance Sheet  ระบบการเงินทั้งระบบยังแข็งแรงอยู่  Trend ขาขึ้นของดอกเบี้ย และ Trend ขาลงของมูลค่าตราสารหนี้บน Balance sheet ของธนาคาร นั้นน่าจะใกล้จุดต่ำสุดแล้ว

ที่มา LH Fund
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 






















 







 

กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ